Page 10 - food eb
P. 10

ด้านจุลชีววิทยา จ านวน 12 รายการ เก็บตัวอย่างน้ าดื่มประชารัฐที่ผลิตและจ าหน่ายใน 5 ภาคของประเทศไทย
                 ผลการด าเนินงาน พบว่าน้ าดื่มประชารัฐมีรูปแบบการด าเนินการ 3 ลักษณะ ได้แก่ ตู้น้ าดื่มหยอดเหรียญ

                 น้ าดื่มบรรจุขวด และน้ าดื่มจากอาคารหรือโรงเรือนที่มีหัวก๊อกอยู่ที่ผนังภายนอกอาคาร น้ าดื่มประชารัฐจ านวน

                 392 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐานร้อยละ 55.1 ไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 44.9 แบ่งเป็นตู้น้ าดื่มหยอดเหรียญไม่ผ่าน
                 มาตรฐานร้อยละ 46.3 น้ าดื่มบรรจุขวดไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 43.5 และน้ าดื่มจากอาคารหรือโรงเรือน

                 ที่มีหัวก๊อกอยู่ที่ผนังภายนอกอาคารไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 44.4 จากผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่ารูปแบบ

                 การผลิตไม่ได้มีผลต่อคุณภาพน้ าดื่ม สาเหตุที่ท าให้น้ าดื่มไม่ผ่านมาตรฐาน เริ่มตั้งแต่คุณภาพน้ าดิบจนถึงกรรมวิธี
                 หรือระบบของเครื่องกรองน้ าที่ใช้ในการผลิต ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เครื่องกรองน้ าที่เหมาะสม และมีระบบ

                 การดูแลรักษาที่ถูกต้อง
                        2. โครงการการศึกษาปริมาณสารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้สด เป็นการเฝ้าระวัง

                 สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สดที่คนไทยนิยมบริโภค โดยแบ่งผักและผลไม้สดออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                 1) ผักสดที่นิยมบริโภค 6 ชนิด ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู มะเขือเทศ มะเขือเปราะ และมะเขือยาว

                 จ านวน 60 ตัวอย่าง 2) ผลไม้สดที่นิยมบริโภค 8 ชนิด แบ่งเป็นผลไม้รับประทานทั้งเปลือก ได้แก่ ฝรั่ง และชมพู่

                 ผลไม้รับประทานเฉพาะเนื้อ ได้แก่ ส้ม แตงโม มะม่วง ล าไย แก้วมังกร และเงาะ จ านวน 80 ตัวอย่าง
                 3) ผักสมุนไพรและผักพื้นบ้าน 12 ชนิด แบ่งเป็นผักสมุนไพร ได้แก่ กะเพรา ใบแมงลัก ผักชี ผักชีฝรั่ง สะระแหน่

                 โหระพา และตะไคร้ ผักพื้นบ้าน ได้แก่ ใบบัวบก ผักแพว ใบมะกอก ผักปลัง และยอดมะม่วงหิมพานต์ จ านวน

                 100 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างจากตลาดขนาดใหญ่และตลาดค้าส่งจาก 5 ภาคของประเทศไทย ผลการด าเนินงาน
                 พบว่าผักและผลไม้สดจ านวน 240 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบการตกค้างร้อยละ 21.7 ตรวจพบการตกค้างแต่ไม่เกิน

                 เกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 20.4 และตรวจพบสารตกค้างไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 57.9 เมื่อแบ่งผักและ

                 ผลไม้สดออกเป็น 3 กลุ่ม พบว่ากลุ่มผักสดจ านวน 60 ตัวอย่าง พบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 66.7 ผักสด
                 ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ คะน้า มะเขือยาว ถั่วฝักยาว และมะเขือเปราะ ชนิดสารตกค้างที่มีอัตราการตรวจพบในผักสด

                 สูง คือ cypermethrin chlorpyrifos และ acetramiprid กลุ่มผลไม้สดจ านวน 80 ตัวอย่าง พบไม่ผ่านเกณฑ์
                 มาตรฐานร้อยละ 48.8 ผลไม้สดในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ชมพู่ ส้ม และล าไย ชนิดสารตกค้างที่มีอัตราการตรวจพบ

                 ในผลไม้สดสูง คือ carbendazim azoxystrobin และ cypermethrin และกลุ่มผักสมุนไพรและผักพื้นบ้าน

                 จ านวน 100 ตัวอย่าง พบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 60.0 ผักสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
                 กะเพรา ใบแมงลัก โหระพา สะระแหน่ ผักแพว ใบบัวบก และผักชีฝรั่ง ชนิดสารตกค้างที่มีอัตราการตรวจพบ

                 ในผักสมุนไพรและผักพื้นบ้านสูง คือ acetamiprid cypermethrin และ chlorpyrifos และตรวจพบสาร
                 methamidophos ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดที่ 4 ในกะเพรา 1 ตัวอย่าง จากผลการตรวจพบว่า

                 สารตกค้างในผักสด 6 ชนิด ที่เป็นผักในกลุ่มที่มีอัตราการตรวจพบสูงในปี 2560 นั้น ชี้ให้เห็นสถานการณ์ในปี

                 2561 ว่า คะน้า มะเขือยาว ถั่วฝักยาว และมะเขือเปราะ ยังคงเป็นผักที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง และผักสมุนไพรและ
                 ผักพื้นบ้านที่มีการตรวจพบสารตกค้างไม่ผ่านมาตรฐาน เนื่องจากจัดเป็นพืชในกลุ่มพืชรอง (minor crop) จึงไม่มี







                 8     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15