Page 9 - food eb
P. 9

บทสรุปผู้บริหาร


              การบูรณาการด้านอาหาร (Food Safety) ปีงบประมาณ 2561

                     ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง
              ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” น าไปสู่

              ประเทศไทย 4.0 การขับเคลื่อน “เศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม” (Value–Based Economy) ในกลุ่มอุตสาหกรรม
              เป้าหมาย 5 กลุ่ม และ “อาหาร” เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องการส่งเสริมการวิจัย พัฒนาต่อยอด

              ให้ได้นวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศ และอาหาร (SDG Goal 2: Zero Hunger) ยังเป็นหนึ่งใน

              17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
              ที่มุ่งมั่นจะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ นอกจากปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคของประชากร

              คุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยก็เป็นปัจจัยส าคัญที่ต้องสร้างความตระหนัก กระทรวงสาธารณสุข
              ได้น ามาจัดท ากรอบและทิศทางการด าเนินงาน ให้สอดคล้องเชื่อมโยงเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข

              เป้าหมายให้ “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน” ภายใต้ยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ

              4 ด้าน สู่การปฏิบัติใน 15 แผนงาน 45 โครงการ และมีการถ่ายทอดลงสู่หน่วยงานภายในกระทรวง
              ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สนับสนุนการด าเนินงานตามนโยบายด้าน Prevention & Promotion Excellence

              (ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ)

                     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน ได้ก าหนดนโยบายและแนวทาง
              การด าเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารอย่างต่อเนื่อง และพัฒนารูปแบบการด าเนินงานให้สอดคล้องกับ

              สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการด าเนินงานร่วมกับส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส านักงาน

              สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมี
              การด าเนินงานใน 2 รูปแบบ คือ 1) การตรวจเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) เป็นการก าหนดอาหารและ

              ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ใน 2 มิติ ได้แก่ มิติหลัก (Agenda base) และมิติพื้นที่ (Area base) 2) การตรวจ
              เฝ้าระวังเชิงรับ (Passive Surveillance) เป็นการรวบรวมผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ถูกก าหนด

              ตามแผนเฝ้าระวังประจ าปี ข้อมูลที่ได้จะน ามาประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงด้านอาหารในภาพรวมของประเทศ

              ให้ประเทศมีฐานข้อมูลคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านอาหาร และสื่อสาร
              สาธารณะด้านสุขภาพ (Health Communication)

                     โครงการบูรณาการอาหารปลอดภัยปีงบประมาณ 2561 โดยส านักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
              ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ด าเนินการตรวจเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) จ านวน

              4 เรื่อง และตรวจเฝ้าระวังเชิงรับ (Passive Surveillance) จ านวน 9 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเฝ้าระวัง

              สนับสนุนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข จ านวน 1 เรื่อง ดังนี้
              ผลการด าเนินงานการตรวจเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance)

                     1. โครงการคุณภาพและความปลอดภัยน  าดื่มประชารัฐ เป็นการส ารวจรูปแบบบริหารจัดการน้ าบริโภค

              ภายใต้โครงการน้ าดื่มประชารัฐ และตรวจวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยด้านกายภาพ ด้านเคมี และ



                                                               กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  7
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14