Page 10 - FoSa62
P. 10

ต่อผู้บริโภค เผยแพร่เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) เว็บไซด์ส านักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร

              กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
                     2. โครงการประเมินความเสี่ยงของการได้รับสัมผัสกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก สีผสมอาหาร ไนเตรต
              ไนไตรต์ Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. ในผลิตภัณฑ์เนื อสัตว์แปรรูปของประชากรไทย

              (ต่อเนื่อง) โครงการต่อเนื่อง 2 ปี โดยในปี 2561 ส ารวจปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารและเชื้อจุลินทรีย์
              ปนเปื้อน และในปี 2562 น าข้อมูลที่ได้มาประเมินการได้รับสัมผัสทั้งด้านการใช้วัตถุกันเสียและเชื้อจุลินทรีย์
              ปนเปื้อน ผลการด าเนินงาน การประเมินการได้รับสัมผัสวัตถุเจือปนอาหารชนิดกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ไนเตรต
              ไนไตรต์ และสีผสมอาหารชนิดซันเซ็ต เย็ลโล่ว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ ปองโซ 4 อาร์ เอโซรูบีน และตาร์ตราซีน จากการ
              บริโภคไส้กรอกหมู ไส้กรอกอีสาน แหนม แฮม กุนเชียง และหม่ า ของประชากรไทยในกลุ่มอายุต่างๆ ที่ได้รับสัมผัส

              ค่ากลางและการได้รับสัมผัสสูงที่ระดับ 97.5 เปอร์เซ็นไทล์ พบว่าประชากรกลุ่มอายุ 3-5.9 ปี จะมีความเสี่ยง
              ต่อการได้รับสารเคมีทั้ง 8 ชนิด รองลงมาคือ ประชากรช่วงอายุ 6-12.9 ปี และโอกาสความเสี่ยงจะลดลงเมื่อช่วง
              อายุของประชากรเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเมื่อประชากรมีอายุมากขึ้น สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มี

              ความหลากหลายมากขึ้น มีความเข้าใจในเรื่องของโภชนาการและสุขภาพมากขึ้น จึงเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์
              เนื้อสัตว์แปรรูปลดลง ส าหรับการประเมินความเสี่ยงของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Salmonella spp.
              พบว่าในไส้กรอกอีสาน แหนม และหม่ า มีความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนไส้กรอกหมู แฮม และกุนเชียง
              มีความรุนแรงอยู่ในระดับต่ า ในการศึกษาครั้งนี้ถึงแม้ว่าระดับความรุนแรงของความเสี่ยงจะอยู่ในระดับปานกลาง

              และต่ า ก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารปลอดภัย เชื้อ Staphylococcus aureus ปนเปื้อนในระหว่างขั้นตอน
              การผลิตอาหาร และเชื้อมีปริมาณมากจนสามารถสร้างสารพิษได้ เมื่อผ่านกระบวนการผลิตปริมาณเชื้อจะลดลง
              จนมีปริมาณน้อยและอาจตรวจไม่พบ แต่สารพิษในอาหารไม่ถูกท าลายก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้ ความรุนแรง
              ของโรคอาหารเป็นพิษขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ชนิดและปริมาณของเชื้อ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ า เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก

              หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องความรุนแรงของอาการจะมากกว่าคนปกติ นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภค
              ของอาหารประเภทนี้ของผู้บริโภคก็เป็นปัจจัยเสริม ในการเกิดการเจ็บป่วยจากอาหารได้มากขึ้น
                     3. โครงการส ารวจยาต้านจุลชีพตกค้างในน  านมพาสเจอร์ไรส์ของประเทศไทย เพื่อให้ทราบสถานการณ์
              เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลในเรื่องดังกล่าวเพียงพอ ผลการด าเนินงาน พบว่านมพาสเจอร์ไรส์รสจืดจ าแนก

              การเก็บตัวอย่างตามลักษณะการจัดจ าหน่าย แบ่งเป็น 1. นมโรงเรียนจากผู้ประกอบการ 70 บริษัท 2. นมที่มียี่ห้อ
              ที่วางขายทั่วไปในท้องตลาด 3. นมยี่ห้อของท้องถิ่น (local brand) และ 4. นม organic รวมทั้งหมดจ านวน
              108 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ยาต้านจุลชีพ 6 กลุ่ม 46 ชนิด พบว่านมสดพาสเจอร์ไรส์ทั้ง 108 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบ

              การตกค้างยาต้านจุลชีพทุกตัวอย่าง ดังนั้นการบริโภคนมสดพาสเจอร์ไรส์ของประเทศไทย มีความปลอดภัย
              จากยาต้านจุลชีพ
                     4. โครงการส ารวจเชื อดื อยาต้านจุลชีพในเนื อสัตว์ของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2562 เพื่อทราบ
              สถานการณ์การดื้อยาของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในเนื้อสัตว์ของประเทศไทย น าไปสู่ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือน
              เชื้อดื้อยาของประเทศแบบบูรณาการ ตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ระหว่างปี

              พ.ศ. 2560-2564 ผลการด าเนินงาน การส ารวจเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในเนื้อสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และ
              เนื้อไก่ สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียที่สนใจได้ทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ E. coli, E. faecalis, E. faecium, S. aureus,
              Salmonella spp. และ Campylobacter spp. พบว่าเนื้อสัตว์ที่พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด ได้แก่

              เนื้อไก่ร้อยละ 91.2 รองลงมาคือ เนื้อวัวร้อยละ 81.5 และเนื้อหมูร้อยละ 77.0 นอกจากนั้น แหล่งจ าหน่ายที่พบ
              การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด ได้แก่ ตลาดค้าส่งหรือตลาดสด ร้อยละ 98.5 รองลงมาคือ ห้างค้าปลีกส่ง





                 8     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15