Page 9 - FoSa62
P. 9

บทสรุปผู้บริหาร


              การบูรณาการด้านอาหาร (Food Safety) ปีงบประมาณ 2562
                     การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) ส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบในกระบวน
              การผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้ง โรคระบาด แมลงศัตรูพืชที่ต้านทานโรคมากขึ้น และประกอบกับ
              การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ตลาดผู้ใช้แรงงานมีข้อจ ากัดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ต้องหาเครื่องมือ หรือสารเคมีต่างๆ

              มาใช้ป้องกัน แก้ไข และทดแทนแรงงานที่น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีฆ่าหญ้า สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืช
              ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น นอกจากนั้น มีการผลิต การน าเข้าผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย
              มีการปลอมปนยาแผนปัจจุบัน ท าให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งสิ้น ฉะนั้น “อาหาร” ปัจจุบันนี้ไม่เพียงแต่
              ต้องมีปริมาณเพียงพอตาม SDG Goal 2 : ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ

              (Millennium Development Goals-MDGs) แห่งสหประชาชาติแล้ว อาหารต้องมีคุณภาพและความปลอดภัย
              เป็นประเด็นส าคัญที่ทั่วโลกพยายามสร้างความตระหนัก และความรับผิดชอบให้กับทุกภาคส่วนในกระบวน
              การผลิตอาหาร ให้ความส าคัญตั้งแต่ต้นน้ าจนถึงปลายน้ า
                     กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ได้ก าหนดนโยบาย

              และแนวทางการด าเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารอย่างต่อเนื่อง และพัฒนารูปแบบการด าเนินงาน
              ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการด าเนินงานร่วมกับส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา
              ส านักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน

              โดยมีการด าเนินการใน 2 รูปแบบ คือ การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) เป็นการก าหนดอาหารและ
              ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ใน 2 มิติ ได้แก่ มิติหลัก (Agenda base) และมิติพื้นที่ (Area base) การเฝ้าระวัง
              เชิงรับ (Passive Surveillance) เป็นการรวบรวมผลวิเคราะห์ ตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ถูกก าหนดตามแผน
              เฝ้าระวังประจ าปี ข้อมูลที่ได้จะน ามาประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงด้านอาหารในภาพรวมของประเทศและวาง
              ทิศทางการด าเนินการในแต่ละปี และให้ประเทศมีฐานข้อมูลคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อตอบโต้ภาวะ

              ฉุกเฉินด้านอาหาร และสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพ (Health Communication) เป้าหมายให้คนไทยมีสุขภาพ
              แข็งแรง และอาหารไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขระยะ
              20 ปี ตามนโยบายรัฐบาลที่จะน าประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0 รองรับสังคมผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2573 ตั้งเป้าหมาย

              ให้ "ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน”
                     โครงการบูรณาการอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562 ด าเนินการโดยส านักคุณภาพและความปลอดภัย
              อาหาร ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ด าเนินการตรวจเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance)
              จ านวน 5 เรื่อง และตรวจเฝ้าระวังเชิงรับ (Passive Surveillance) จ านวน 8 ผลิตภัณฑ์ และโครงการตรวจ

              เฝ้าระวังเพื่อสนับสนุนนโยบายอาหารปลอดภัยกระทรวงสาธารณสุข จ านวน 2 โครงการ ดังนี้
              ผลการด าเนินงานการตรวจเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance)
                     1. โครงการคุณภาพและความปลอดภัยของน  าดื่มประชารัฐ (ต่อเนื่อง) โครงการต่อเนื่อง 2 ปี โดยในปี
              ที่ 1 (ปี 2561) ศึกษาระบบบริหารจัดการ ส ารวจข้อมูลประเภทของน้ าดื่มประชารัฐ เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์

              คุณภาพและความปลอดภัยของน้ าดื่มประชารัฐ เพื่อให้ทราบสถานการณ์คุณภาพและความปลอดภัยของ
              น้ าบริโภค ส าหรับปีที่ 2 จัดท าคู่มือแบบบูรณาการ ผลการด าเนินงาน การจัดท า “คู่มือมาตรฐานน้ าดื่มประเทศไทย”
              เป็นการรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบ ารุงรักษาน้ าดื่มให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ได้ผ่านการ
              มีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความคิดเห็นจนเสร็จสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นแนวทาง

              ในการปฏิบัติงานแก่ผู้ผลิตน้ าดื่ม ในการดูแล เฝ้าระวัง ตรวจสอบให้น้ าดื่มประชารัฐมีคุณภาพและความปลอดภัย




                                                               กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  7
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14