รายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องแจ้งเมื่อส่งตัวอย่าง

ผลิตภัณฑ์
รายการทดสอบ / กลุ่มรายการทดสอบ
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องแจ้งเมื่อส่งตัวอย่าง
ฉบับที่ 356 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ฉบับที่ 196 เรื่อง ชา
ฉบับที่ 197 เรื่อง กาแฟ
ฉบับที่ 198 เรื่อง น้ำนมถั่วเหลือง
รายการทางจุลินทรีย์ 1. เครื่องดื่มฯ ชา กาแฟ น้ำนมถั่วเหลืองขนิดเหลว ต้องระบุวิธีการทำลายเชื้อ (ฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรส์ หรือยูเอชที หรือสเตอริไลท์ หรือไม่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ เช่น อัดแก๊ส ฉายแสง เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิปกติ) กรณีฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรส์ต้องระบุค่า pH เพิ่ม
2. เครื่องดื่มฯ ชา กาแฟ น้ำนมถั่วเหลืองชนิดผง และชนิดเข้มข้น ต้องระบุอัตราส่วนในการละลายหรือเจือจาง
ฉบับที่ 200 เรื่อง ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ฉบับที่ 201 เรื่อง ซอสบางชนิด
รายการทางจุลินทรีย์ต้องระบุวิธีการทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ (ฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรส์ หรือสเตอริไลท์)
ฉบับที่ 208 เรื่อง ครีมรายการทางจุลินทรีย์ระบุชนิดครีม ดังนี้
1) ครีมที่ทำให้แห้ง
2) ครีมที่ผ่านกระบวนการทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ในกรรมวิธีการผลิต โดยวิธีพาสเจอร์ไรส์
3) ครีมอื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 1) และ ข้อ 2)
ฉบับที่ 209 เรื่อง เนยแข็ง รายการทางจุลินทรีย์ระบุค่าปริมาณน้ำอิสระ (Water activity, Aw) แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ <0.82, 0.82-0.9, >0.9
ฉบับที่ 210 เรื่อง อาหารกึ่งสำเร็จรูปรายการทางจุลินทรีย์อาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภท ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ให้แจ้งว่ามีเครื่องปรุงอยู่ในภาชนะด้วยหรือไม่ หากมีเครื่องปรุงอยู่ด้วยต้องวิเคราะห์แยกระหว่างเส้นและเครื่องปรุง เก็บเงินค่าวิเคราะห์เพิ่ม
ฉบับที่ 346 เรื่อง อาหารที่เติมจุลินทรีย์โพรไบโอติก รายการทางจุลินทรีย์ระบุชื่อเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก
รายละเอียดเพิ่มเติม
ฉบับที่ 350 เรื่อง นมโค
ฉบับที่ 351 เรื่อง นมปรุงแต่ง
ฉบับที่ 325 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม
รายการทางจุลินทรีย์1. นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว (ฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรส์ หรือยูเอชที หรือสเตอริไลท์ หรือไม่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ และสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิปกติ)
2. นมพาสเจอร์ไรส์ ต้องระบุว่าเก็บตัวอย่างจากแหล่งผลิต หรือจากแหล่งจำหน่าย
3. นมข้น/นมคืนรูป ต้องระบุชนิดหวานหรือชนิดไม่หวาน และระบุวิธีการทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ (ฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรส์ หรือสเตอริไลท์)
ฉบับที่ 353 เรื่อง นมเปรี้ยวรายการทางจุลินทรีย์1.ระบุวิธีการทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ (ฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรส์ หรือสเตอริไลท์ หรือไม่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ และสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิปกติ)
2.ระบุชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในขบวนการหมัก หรือเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก (ถ้าใส่)
ฉบับที่ 354 เรื่อง ไอศกรีมรายการทางจุลินทรีย์1.ระบุประเภทของไอศกรีม (ไอศกรีมนม หรือไอศกรีมดัดแปลง หรือไอศกรีมผสม หรือไอศกรีมหวานเย็น)
2.ไอศกรีมชนิดเหลว ต้องระบุวิธีการทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ (ฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรส์ หรือยูเอชที หรือสเตอริไลท์ หรือไม่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ และสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิปกติ)
3.ไอศกรีมโยเกิร์ต ระบุชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในขบวนการหมัก หรือเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก (ถ้าใส่)
ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในภาชนะที่ปิดสนิทรายการทางจุลินทรีย์1. ระบุการตรวจวิเคราะห์ตาม ฉ.355 ข้อ 3 (1) หรือ ข้อ 3 (2)
ข้อ 3 อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หมายความว่า
(1) อาหารที่ผ่านกรรมวิธีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ด้วยความร้อนภายหลังหรือก่อนการบรรจุหรือปิดผนึก ซึ่งเก็บรักษาไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทที่เป็นโลหะหรือวัตถุอื่นที่คงรูปที่สามารถป้องกันมิให้อากาศภายนอกเข้าไปในภาชนะบรรจุได้ และสามารถเก็บรักษาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ หรือ
(2) อาหารในภาชนะบรรจุชนิดลามิเนต (laminate) ฉาบ เคลือบ อัด หรือติดด้วยโลหะ หรือสิ่งอื่นใด หรืออาหารในภาชนะบรรจุที่เป็นขวดแก้วที่ฝามียางหรือวัสดุอื่นผนึก หรืออาหารในภาชนะบรรจุอื่น ซึ่งสามารถป้องกันมิให้ความชื้นหรืออากาศผ่านซึมเข้าภายในภาชนะบรรจุได้ในภาวะปกติ และสามารถเก็บรักษาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ
2. ถ้าตรวจตาม ฉ.355 ข้อ 3 (1) ระบุให้ค่า pH
ฉบับที่ 435 ภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 435 พ.ศ.2565 บัญชีหมายเลข 21. ระบุชนิดพลาสติกที่สัมผัสอาหาร
2. ระบุอุณหภูมิที่ใช้งาน (แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ > 100 องศาเซลเซียส หรือ <100 องศาเซลเซียส)
หรือระบุอุณหภูมิที่ทดสอบ 95 หรือ 60 องศาเซลเซียส
ฉบับที่ 182 เรื่อง ฉลากโภชนาการ

ฉบับที่ 394 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ

ตัวอย่างอาหาร และเครื่องดื่มระบุข้อมูล
1. น้ำหนักสุทธิ (คือน้ำหนักทั้งหมดของอาหารโดยไม่รวมน้ำหนักบรรจุภัณฑ์)
2. หนึ่งหน่วยบริโภค
3. ส่วนประกอบต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์อาหาร
ฉบับที่ 121 เรื่อง อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
ฉบับที่ 182 เรื่อง ฉลากโภชนาการ
ฉบับที่ 195 เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่
ฉบับที่ 351 เรื่อง นมปรุงแต่ง
ฉบับที่ 352 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม
ฉบับที่ 353 เรื่อง นมเปรี้ยว
ฉบับที่ 354 เรื่อง ไอศกรีม
ฉบับที่ 394 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ
น้ำตาล ตามประกาศ หรือตามกรมสรรพสามิต1. ระบุชนิดน้ำตาลที่เติมในตัวอย่าง เช่น ฟรุคโตส ทรีฮาโลส กลูโคส เป็นต้น
2. ระบุชนิดวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เติมในตัวอย่าง เช่น ไซลิทอล มอลทิทอล เป็นต้น
3. ระบุส่วนประกอบต่างๆ ในผลิตภัณฑ์อาหาร
ฉบับที่ 421 เรื่อง น้ำมันและไขมัน
1. ค่าของกรด
2. ค่าเพอร์ออกไซด์
3. ปริมาณสบู่
4. สิ่งอื่นที่ไม่ละลาย
5. อันแซพอนิฟิเอเบิลแมตเตอร์
6. ค่าแซพอนิฟิเคชั่น
7. องค์ประกอบของกรดไขมัน
8. ความชื้น
9. น้ำมันแร่
10. ค่าไอโอดีน (โดยการคำนวณจากข้อที่ 7)
11. วัตถุกันหืน
12. ตะกั่ว
13. ดีบุก
14. สารหนู
1. ระบุส่วนประกอบ
1.1 กรณีไม่มี wax ให้บริการตรวจวิเคราะห์เพื่อขึ้นทะเบียนและตรวจคุณภาพตาม ฉ.421
1.2 กรณีมี wax งดให้บริการตรวจวิเคราะห์เพื่อขึ้นทะเบียนตาม ฉ.421
และงดให้บริการตรวจคุณภาพข้อที่ 1-5 เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของวิธีวิเคราะห์
1.3 กรณีไม่ระบุและยืนยันส่งตรวจวิเคราะห์ หากภายหลังพบปัญหาการตรวจวิเคราะห์
ในห้องปฏิบัติการในรายการข้อที่ 1-5 จะรายงานผลว่าไม่สามารถวิเคราะห์ได้
2. ค่าไอโอดีน (โดยการคำนวณจากข้อที่ 7)
2.1 ให้บริการตรวจวิเคราะห์เฉพาะน้ำมันที่มีค่าอันแซพอนิฟิเอเบิลแมตเตอร์ น้อยกว่า 0.5%
เช่น น้ำมันมะพร้าวและ MCT เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของวิธีวิเคราะห์
3. น้ำมันและไขมันผสม
3.1 งดให้บริการตรวจวิเคราะห์เพื่อขึ้นทะเบียนตาม ฉ.421 เนื่องจากตัวอย่างประเภทนี้
ไม่ถูกกำหนดเป็นน้ำมันและไขมันตาม ฉ.421
3.2 ถ้ายืนยันส่งตรวจวิเคราะห์เพื่อตรวจคุณภาพ ให้บริการตรวจวิเคราะห์ได้แต่ไม่สามารถใช้เกณฑ์คุณภาพตาม ฉ. 421 ได้