คำถามที่พบบ่อย(FAQ)

1. สามารถติดต่อส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบที่ไหน อย่างไร?

ท่านสามารถติดต่อส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบทางห้องปฏิบัติการทั้งด้านกายภาพ เคมี จุลชีววิทยา และชีวโมเลกุล สำหรับ อาหาร น้ำ เครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร ภาชนะบรรจุห่อหุ้ม หรือสัมผัสอาหาร และตัวอย่างอาหารอื่นๆ
ได้ที่ ศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทรศัพท์ (02) 589 9850-8 ต่อ 99965, 99968
– การส่งตัวอย่างการตรวจวิเคราะห์ ที่ศูนย์รวมบริการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
– ขั้นตอนการส่งผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์ ศูนย์รวมบริการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

หรือ สอบถามรายละเอียดการส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ได้ที่  ศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
โทรศัพท์ (02) 589 9850-8 ต่อ 99965, 99968

หรือ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
โทรศัพท์ 0-2589-9850-8 ต่อ 99561, 09-556-7780 contact


2. ควรเตรียมตัวก่อนนำอาหารมาส่งตรวจวิเคราะห์ อย่างไรบ้าง?

ผู้ใช้บริการควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
ข้อแนะนำก่อนนำตัวอย่างอาหารส่งตรวจวิเคราะห์
– รายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องแจ้งเมื่อส่งตัวอย่าง

 

3. สามารถ download แบบฟอร์มการส่งตัวอย่าง ได้ที่ไหน?

3.1 สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อส่งตัวอย่าง ได้ที่นี่ (รับรายงานผลการทดสอบด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์หรือแจ้งรับเป็น E-report)
เพื่อกรอกรายละเอียดล่วงหน้า แล้วนำแบบฟอร์มดังกล่าวพร้อมตัวอย่างนำส่งยัง ศูนย์รวมบริการ
3.2  ส่งคำขอ (E-Submission) ผ่านระบบรับส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ (iLab Plus) (สามารถ download รายงานผลการทดสอบแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (E-Report) ตรวจสอบสถานะการส่งตัวอย่าง และดูประวัติการส่งตัวอย่างได้ โดยสมัครเข้าใช้งานและกรอกรายละเอียดเพื่อส่งตัวอย่าง
ผ่านเว็บไซต์ โดยไม่ต้องใช้เอกสารแบบฟอร์มการส่งตัวอย่าง

4. จะสามารถดูรายการตรวจวิเคราะห์ และราคาได้ที่ไหน?
ผู้รับบริการสามารถตรวจสอบรายการ และราคาค่าตรวจวิเคราะห์ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
ในหัวข้อ บริการ –>สำหรับผู้ใช้บริการ
4.1 อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ (สามารถค้นหาตามชื่อรายการหรือประเภทอาหาร)
4.2 รายการวิเคราะห์และอัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์ ตรวจตามประกาศประกาศกระทรวงสาธารณสุข (อยู่ระหว่างการปรับปรุง)

 5. ถ้าต้องการส่งตัวอย่างทางไปรษณีย์สามารถทำได้หรือไม่ ถ้าได้มีขั้นตอนการชำระเงินอย่างไร?
   
ผู้ใช้บริการสามารถส่งตัวอย่างทางไปรษณีย์หรือระบบขนส่งได้  คลิกเพื่อดูรายละเอียด

 

 6.  เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่สามารถตรวจได้มีอะไรบ้าง?
   ท่านสามารถดูรายละเอียดได้จาก จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร

  7. จะสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการส่งตัวอย่างตรวจทางชีวโมเลกุล (GMO/DNA/สารก่อภูมิแพ้) ได้ที่ไหน?
     ท่านสามารถดูรายละเอียดได้จาก การตรวจทางชีวโมเลกุล

 

 8. มีบริการทดสอบความชำนาญในรายการใดบ้าง และสามารถเข้าร่วมได้อย่างไร?
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารเปิดให้บริการทดสอบความชำนาญ
ในแผนทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์อาหารทางจุลชีววิทยา และ แผนทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์อาหารและน้ำทางเคมี
ในรายการต่าง ๆ โดยท่านสามารถดูรายละเอียด และสมัครเข้าร่วมแผนทดสอบความชำนาญได้ในหัวข้อการทดสอบความชำนาญ

9. อยากทราบเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารของ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์?
จะดูได้จากที่ไหน?

  ท่านสามารถดูได้จาก  เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ตามประกาศของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


 10. ถ้าต้องการขวดสำหรับเก็บน้ำตรวจเชื้อจุลินทรีย์สามารถทำได้หาซื้อได้ที่ไหน หรือเตรียมเองได้หรือไม่?
   ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำตรวจเชื้อจุลินทรีย์ต้องเป็นขวดที่ปราศจากเชื้อ หาซื้อได้ที่ ศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราคา 250 บาท
หรือสามารถเตรียมเองได้ ดังนี้

  1. จัดหาขวดแก้วตามขนาดบรรจุที่ต้องการ ล้างให้สะอาด –
  2. วางขวดแก้ว และฝาขวดลงในภาชนะก้นลึก เทน้ำลงในภาชนะจนท่วมขวดแก้วประมาณ 1 นิ้ว ต้มน้ำให้เดือด จับเวลาขณะน้ำเดือด 15-20 นาที –
  3. ใช้ปากคีบ คีบขวดแก้ว (เทน้ำออก) และฝาขวดออกมาจากภาชนะที่ต้มน้ำ ระวังอย่าให้บริเวณปากขวดและด้านในของฝาสัมผัสกับสิ่งใด ปิดฝาขวดทันที
  4. ตั้งทิ้งไว้ให้ขวดแก้วเย็น แล้วจึงนำมาเก็บตัวอย่าง

 11. ถ้าต้องการตรวจสอบปลาแล่ว่าเป็นปลากระพง สามารถตรวจสอบได้หรือไม่?
   สามารถตรวจสอบดีเอ็นเอพืชและสัตว์ แบบระบุชนิดและสายพันธ์ุได้ คลิกเพื่อดูรายละเอียด

 

12. อยากซื้อชุดทดสอบอาหาร ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีจำหน่ายที่ใดบ้าง?
ท่านสามารถติดต่อสั่งซื้อ ชุดทดสอบอาหาร ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จากบริษัท/ร้าน ตัวแทนจำหน่ายชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตามรายละเอียด