วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์
เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของประเทศและอาเซียนด้านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร

พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฏหมาย
พันธกิจหรือหน้าที่หลักตามกฏหมายของส่วนราชการ ตามกฏกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2522 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารมีภารกิจเกี่ยวกับการวิจัยและการตรวจวิเคราะห์ด้านคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อผลการ สร้างเสริมสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ทำให้สามารถพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ รวมทั้งเพื่อการสนับสนุนกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคของประชาชน โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. พัฒนาระบบและกำหนดมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์และให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร
3. เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
4. พัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน ของกระบวนการผลิตอาหารตามมาตรฐานสากล
5.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการสนับสนุนด้านวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์แก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายห้องปฏิบัติการภาครัฐและภาคเอกชน
6.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ภารกิจ/บริการหลัก ของสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
1. ศึกษาวิจัย และพัฒนาด้านอาหาร
2. เฝ้าระวัง ประเมินความเสี่ยง และสื่อสารแจ้งเตือนภัยด้านอาหาร
3. บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร

แผนยุทธศาสตร์

แผนปฏิบัติราชการประจำปี


แผนการจัดซื้อจัดจ้าง และประกาศต่างๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
สามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์
http://eprocurement.dmsc.moph.go.th/viewforum.php?f=3
http://www.gprocurement.go.th/new_index.html

สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง ตามแบบ สขร.1

แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล

รายงานการดำเนินการตามกรอบแนวทางการดำเนินการ

รายงานการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์

ด้านพันธกิจ
– ผลงานวิเคราะห์ วิจัยและการประเมินความเสี่ยงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงทางกฎหมายการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
ด้านปฏิบัติการ
– ห้องปฏิบัติการได้รบการรับรองตามมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและอาเซียน
ด้านบุคลากร  
– บุคลากรมีความความเชี่ยวชาญ ความรู้ความสามารถ และทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและปัญหาสาธารณสุข
ด้านสังคม       
– ห้องปฏิบัติการมีระบบการกำจัดของเสีย จำแนกประเภทขยะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค/สารพิษสู่สิ่งแวดล้อม
– มีระบบบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ต่อต้านการทุจริต

ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์: (ด้านพันธกิจ ปฏิบัติการ บุคลากร สังคม)
ด้านพันธกิจ
– ปัญหาความเสี่ยง/ความไม่ปลอดภัยจากการบริโภคอาหารได้รับการตอบสนองทันเหตุการณ์
ด้านปฏิบัติการ
– ให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ครอบคลุมความต้องการ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจและผูกพันต่อหน่วยงาน
ด้านบุคลากร
– การบริหารจัดการบุคลากรมีจำนวนจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ด้านสังคม
– Green office (การประหยัดพลังงาน ลดปริมาณขยะ ลด-เลิกการใช้สารเคมีอันตราย ใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ)