ข้อแนะนำก่อนนำตัวอย่างอาหารส่งตรวจวิเคราะห์ ณ ศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

  1. ต้องทราบวัตถุประสงค์ที่ต้องการส่งวิเคราะห์ เช่น เพื่อใช้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ประกอบการขอขึ้นทะเบียนอาหาร หรือเพื่อตรวจสอบคุณภาพอาหาร
  2. ต้องทราบว่าตัวอย่างนั้น มีข้อกำหนดเฉพาะหรือไม่ เช่น จัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ หรือจัดเป็นอาหารกำหนดคุณภาพและมาตรฐาน หรือจัดเป็นอาหารต้องแสดงฉลาก หากไม่ทราบ หรือไม่แน่ใจ ให้ขอคำแนะนำจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อระบุว่าอาหารนั้น ขึ้นทะเบียนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่เท่าไหร่หรือต้องขอข้อกำหนดเฉพาะจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  3. เมื่อทราบชนิดอาหารและข้อกำหนดเฉพาะแล้ว จึงนำตัวอย่าง พร้อมความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือข้อกำหนดเฉพาะจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มาที่ศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อกรอกใบนำส่งตัวอย่าง
    โดย ผู้นำส่งต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน สามารถอ่านได้ชัดเจน ในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ผลิต ชื่อและที่อยู่ผู้ส่งตัวอย่าง ชื่ออาหาร ส่วนประกอบ หากข้อมูลที่ให้ไม่ถูกต้อง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับแก้ไขรายงานผลการวิเคราะห์นั้นๆ และหากต้องการรายงานฉบับภาษาอังกฤษ ต้องระบุข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษให้ครบถ้วน โดยห้องปฏิบัติการจะจัดทำรายงานตามข้อมูลที่ได้รับเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์
รายการทดสอบ / กลุ่มรายการทดสอบ
คำแนะนำ
ตัวอย่างทุกรายการทดสอบ1. ตัวอย่างต้องอยู่ในสภาพปกติ และไม่เน่าเสีย
2. ตัวอย่างที่ส่งตรวจวิเคราะห์ต้องเป็นรุ่นการผลิต หรือวันที่ผลิต หรือวันหมดอายุเดียวกัน
3. ภาชนะบรรจุไม่เสียหาย บุบ รั่ว ฉีกขาด
4. ระหว่างนำส่งตัวอย่างต้องเก็บรักษาตามอุณหภูมิของอาหารประเภทนั้น ๆ เช่น อุณหภูมิห้อง แช่เย็น และแช่แข็ง
ตัวอย่างอาหาร เครื่องดื่มที่มีอายุสั้น หรืออาหารที่เน่าเสียง่าย (เช่น ผักและผลไม้ตัดแต่ง สลัดผัก อาหารทะเลที่บริโภคดิบ ขนมหวานหรือขนมไทย อาหารประเภทข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ส้มตำ ลาบ น้ำตก นมพาสเจอร์ไรส์ เป็นต้น) รายการทางจุลินทรีย์ ส่วนประกอบอาหาร
ฉลากโภชนาการ และ GDA
1. ตัวอย่างต้องส่งตรวจวิเคราะห์ก่อนวันหมดอายุ อย่างน้อย 10 วัน
2. ส่งตัวอย่างภายในวันจันทร์ ถึงพุธ ยกเว้นวันหยุดราชการ หรือติดต่องานรับตัวอย่างก่อนส่งตัวอย่าง
ตัวอย่างอาหารสิ่งแปลกปลอมรับเป็นตัวอย่างอาหารไม่รับเฉพาะสิ่งแปลกปลอม
น้ำรายการทางจุลินทรีย์1. ควรเก็บตัวอย่างในวันที่ส่งตรวจวิเคราะห์ และระหว่างการขนส่งควรเก็บตัวอย่างที่อุณหภูมิแช่เย็นในกล่องโฟม หรือภาชนะอื่นที่มีวัสดุให้ความเย็นตลอดเวลา
2. ส่งตัวอย่างภายในวันจันทร์ ถึงพุธ ยกเว้นวันหยุดราชการ
3. ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่างต้องเป็นขวดที่ปราศจากเชื้อ หาซื้อได้ที่ศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราคา 250 บาท หรือสามารถเตรียมเองได้ ดังนี้